วันพุธที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

หูเสือ แก้เจ็บคอ ต่อมทอนซิลอักเสบ

หูเสือ เป็นสมุนไพรอีกสูตรหนึ่งที่นิยมใช้รักษาอาการเจ็บคอและต่อมทอนซิลอักเสบ เนื่องจากมีอาการอยู่ประจำ โดยเฉพาะในช่วงเปลี่ยนอากาศทำให้รู้สึกเจ็บในลำคอ และต่อมทอนซิลอักเสบเสมอ โดยใช้กันมาตั้งแต่โบราณ มีวิธีง่าย ๆ คือ ให้เอาใบหูเสือแบบสด ขนาดเล็กหรือใหญ่ตามแต่จะหาได้ จำนวน 5 ใบ ล้างน้ำให้สะอาดสับรวมกับเนื้อหมูไม่ติดมันกะจำนวนตามต้องการ ไม่ต้องปรุงรสหรือใส่อะไรลงไปอีก ปั้นเป็นก้อนต้มกับน้ำไม่ต้องมากนักจนเดือดหรือเนื้อสุกกินทั้งน้ำแลเนื้อเช้าเย็น ทำกินประจำ 4 – 5 วัน อาการจะดีขึ้นและหายได้ หรือต้มกินจนกว่าจะหาย เมื่อหายแล้วหยุดกินได้ไม่มีอันตรายอะไร



หูเสือ หรือ COLEUS AMBOINICUS LOUR อยู่ในวงศ์ LABIATEAE เป็นไม้ล้มลุกอายุหลายปี นิยมปลูกตามบ้านมาแต่โบราณเพื่อเก็บเอาใบสดกินเป็นผักจิ้มน้ำพริกชนิดต่าง ๆ และลาบ ก้อย ชาวบ้านทางภาคอีสานและภาคเหนือนิยมรับประทานกันมาก ขยายพันธุ์ง่าย ๆ ปักชำต้นก็ขึ้นแล้ว มีชื่อเรียกอีกคือผักหูเสือ หูเสือไทย อีไหล หลึง หูเสือจีน โฮหิเช้า (จีน) หอมด่วนหลวง หอมด่วนหูเสือ (ภาคเหนือ) และ หูเสือ (ภาคอีสาน) ประโยชน์ทางสมุนไพร ใบ คั้นเอาน้ำหยอดแก้ปวดหู แก้พิษฝีในหู แก้หูเป็นนำหนวกดีมาก




ต่อมทอนซิลอักเสบ


อาการเจ็บคอเป็นอากรที่พบได้บ่อยในเด็กและผู้ใหญ่ ต่อมทอนซิลอักเสบเป็นสาเหตุของการเจ็บคอที่พบบ่อยอันหนึ่ง เด็กที่มาพบแพทย์ด้วยอาการ ไข้ และ เจ็บคอ ต่อมทอนซิล คือ อะไร ต่อมทอนซิลที่เรารู้จักและพูดถึงกันทั่วไป คือต่อมน้ำเหลืองอย่างหนึ่งของร่างกายเวลาอ้าปากจะเห็นอยู่บริเวณ ด้านข้างของลำคอ เรียกว่า ต่อมทอนซิลข้างลำคอ (palatine tonsil ) แต่จริงแล้วยังมีต่อมน้ำเหลืองอื่นที่อยู่ในลำคอ ที่ทำหน้าที่ในการป้องกันการติดเชื้อบริเวณลำคอ โดยกลุ่มต่อมน้ำเหลืองที่อยู่หลังโพรงจมูก เรียกว่า ต่อมแอดินอยด์ ( adenoid gland ) กลุ่มต่อมน้ำเหลืองที่อยู่บริเวณโคนลิ้นเรียกว่า ต่อมทอนซิลโคนลิ้น ( lingual tonsil )

 
หน้าที่ของต่อมทอนซิล

ต่อมทอนซิลทั้งหลายในลำคอ มีหน้าที่ในการป้องกันการติดเชื้อของทางเดินหายใจและทางเดินอาหาร โดยการการสร้างภูมิคุ้มกันเพื่อทำลายเชื้อโรคที่จะเข้าสู่ร่างกาย ในวัยเด็กภูมิคุ้มกันยังมีน้อยทำให้ต่อมทอนซิลไวต่อการตอบสนองต่อการติดเชื้อเกิดการอับเสบขึ้นได้ แต่เมื่อเด็กโตขึ้นภูมิคุ้มกันดีขึ้นทำให้เด็กมีการอับเสบของต่อมทอนซิลน้อยลง
อาการของต่อมทอนซิลอักเสบ

เมื่อเกิดการติดเชื้อภายในต่อมทอนซิล เด็กจะมีอาการ ไข้สูงบางครั้งสูงถึง 40 องศาเซลเซียส หนาวสั่น ครั่นเนื้อครั่นตัว อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร เจ็บคอโดยเฉพาะเวลากลืนอาหาร อาจจะมีอาการปวดร้าวไปที่หู ตรวจดูจะพบต่อมทอนซิลทั้งสองข้างโตขึ้น อักเสบบวมแดง มีหนองเป็นจุดขาวๆบนต่อมทอนซิล ถ้าอักเสบรุนแรงจะเห็นฝ้าขาวๆปกคลุมต่อมทอนซิลได้ บางครั้งจะคลำว่ามีต่อมน้ำเหลืองที่คอ บวมโตร่วมด้วย อาการจะรุนแรงอยู่ 2 - 3 วันหลังจากนั้นอาการจะดีขึ้นภายใน 7 - 10 วัน ถ้าไม่มีภาวะแทรกซ้อน



เชื้อที่เป็นสาเหตุ


สำหรับเชื้อที่เป็นสาเหตุอาจจะเกิดจากเชื้อ ไวรัส หรือ เชื้อแบคทีเรีย แต่ถ้าเกิดจากเชื้อแบคทีเรียอาการจะรุนแรงกว่า พบว่าเชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุที่พบบ่อยเกิดจากเชื้อ Hemophilus influenzae , Streptococcus pneumoniae , Streptococus group A เป็นต้น



การรักษาต่อมทอนซิลอักเสบ


ผู้ป่วยควรได้รับการพักผ่อนให้เพียงพอ อย่าให้มีการขาดน้ำและอาหาร ดื่มน้ำมากๆอย่างน้อย 2.5 ลิตร รักษาความสะอาดของช่องปาก กลั้วคอด้วยน้ำเกลือหรือน้ำยาบ้วนปาก ถ้าเจ็บคอมากอาจจะใช้ยาอมที่มียาชาผสมก่อนกินอาหาร แนะนำให้รับประทานอาหารอ่อนๆ ถ้ามีไข้สูงควรพิจารณาให้ยาลดไข้จำพวก พาราเซตามอล และที่สำคัญต้องได้รับยาปฏิชีวนะที่ครอบคลุมเชื้อดังกล่าวข้างต้น ซึ่งก็คือยาปฏิชีวนะกลุ่ม เพนนิซิลิน หรือ อีรีโทมัยซิน ควรกินยาอย่างน้อย 7 – 10 วัน หรือตามแพทย์สั่งถ้ เพื่อป้องกันโรคแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดขึ้น ถ้าอาการรุนแรงอาจจะต้องรับป่วยในโรงพยาบาลเพื่อให้สารน้ำและยาปฏิชีวนะเข้าทางเส้นเลือด



ภาวะแทรกซ้อนของต่อมทอนซิลอักเสบ

ผลเสียของการอักเสบของต่อมทอนซิล เชื้ออาจจะลุกลามกลายเป็นฝีในลำคอได้ และ เกิดการติดเชื้อมากจนเกิดภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดได้ และอาจจะส่งผลทำให้เกิด หูชั้นกลางอักเสบ ไซนัสอักเสบ หลอดลมอักเสบ หรือ ปอดบวมได้ แต่ที่เป็นปัญหาสำคัญของต่อมทอนซิลอักเสบในเด็ก ถ้าเกิดการอักเสบจากเชื้อ สเตรปโตค๊อกคัส ( streptococcus ) อาจจะเกิดกรวยไตอักเสบ หรือ โรคหัวใจรูมาติก ตามมาซึ่งต้องได้รับการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะนานประมาณ 10 วัน จึงจะป้องกันภาวะแทรกซ้อนนี้ได้


ผลของต่อมทอนซิลอักเสบเรื้อรัง


เมื่อเกิดการอักเสบของต่อมทอนซิลบ่อยครั้ง จะทำให้ต่อมทอนซิลขยายตัวใหญ่ขึ้นกว่าปกติและมีพื้นผิวขรุขระ เรียกว่า ต่อมทอนซิลอักเสบเรื้อรัง จนบางครั้งกลายเป็นแหล่งสะสมเชื้อโรคได้ เมื่อใดก็ตามที่ร่างกายอ่อนแอ จากสาเหตุต่างๆ เช่น อดหลับอดนอนนอน พักผ่อนน้อย หรือ ป่วยเป็นไข้หวัด เป็นต้น จะทำให้เชื้อโรคเหล่านี้เจริญเติบโตมากขึ้นแล้วทำให้เกิดการอักเสบตามมาได้


นอกจากนี้การที่ต่อมทอนซิลโตมากๆจะมีผลทำให้เกิดการอุดตันทางเดินหายใจโดยเฉพาะเวลาเด็กหลับ กล้ามเนื้อบริเวณลำคอคลายตัวเวลาเด็กหายใจเข้าต่อมทอลซิลจะโดยดูดเข้าไปอุดทางเดินหายใน เด็กจะเกิดการหายใจลำบาก นอนกรน กลืนลำบาก หรืออาจจะทำให้หยุดหายใจในขณะเด็กนอนหลับได้ ซึ่งจะมีผลระยะยาวตามมาต่อเด็ก โดยจะมีผลต่อ การเรียนรู้ การพัฒนาทางสมอง หรือเป็นนานอาจจะมีผลต่อหัวใจและหลอดเลือด ทำให้เกิดหัวใจห้องขวาวายได้


การรักษาต่อมทอนซิลอักเสบเรื้อรัง


เมื่อมีปัญหาดังกล่าวข้างต้น แพทย์หูคอจมูกส่วนใหญ่จะแนะนำให้ผ่าตัดต่อมทอนซิลออก โดยมีข้อบ่งชี้ดังนี้


1. ต่อมทอนซิลโตจนอุดตันทางเดินหายใจ เด็กจะมีอาการนอนกรน หายใจลำบาก และอาจเกิดการหยุดหายใจเป็นช่วง ๆ ขณะนอนหลับ



2. ต่อมทอนซิลและต่อมแอดินอยด์โตจนมีผลต้องหายใจทางปากตลอดเวลา ทำให้การพัฒนารูปใบหน้าเปลี่ยนไปและฟันสบไม่ดี



3. ต่อมทอนซิลและต่อมแอดินอยด์โตจนเกิดปัญหาหูน้ำหนวกและไซนัสอักเสบเรื้อรัง



4. มีการอักเสบของต่อมทอนซิลบ่อย ๆ มากกว่า 4 - 7 ครั้งต่อปี หรือ 5 ครั้งต่อปีใน 2 ปีติดต่อกัน หรือ 3 ครั้งต่อปีใน 3 ปีติดต่อกัน



5. มีการอักเสบติดเชื้อเบต้า สเตปโตคอคคัส มากกว่า 3 ครั้งต่อปี



6. ต่อมทอนซิลอักเสบเรื้อรังและเกิดภาวะแทรก เช่น การอักเสบเป็นหนองรอบต่อมทอนซิล หรือ ต่อมน้ำเหลืองรอบคออักเสบและโต และ อักเสบพร้อมไข้สูงจนเกิดอาการชักร่วมด้วย



7. สงสัยว่าจะเป็นเนื้องอก




ข้อห้ามของการทำผ่าตัดต่อมทอนซิล


เด็กที่มีประวัติของ ภูมิคุ้มกันบกพร่อง, ภาวะโรคเลือด , และ เด็กที่อยู่ในบริเวณที่มีการระบาดของโปลิโอที่ยังยังไม่ได้การรับวัคซีนนี้ นอกจากนี้ไม่แนะนำให้ผ่าตัดทอนซิลในเด็กที่อายุน้อยกว่า 3 ปีถ้าไม่มีข้อบ่งชี้ที่จำเป็นจริงๆ


ภาะแทรกซ้อนของการผ่าตัดต่อมทอนซิล

ถึงแม้ว่าการผ่าตัดต่อมทอนซิลนี้จะไม่ยาก แต่ก็อาจเกิดผลแทรกซ้อนได้ ถ้าวิธีการเลือกผู้ป่วยหรือวิธีการผ่าตัดไม่ดี ผลแทรกซ้อนหลังการผ่าตัดที่อาจพบได้ เลือดออกหลังการผ่าตัดบางครั้งเลือดอาจจออกมากจนผู้ป่วยเกิดภาวะ shock จากการขาดเลือดได้ , อาการปวดแผลหลังผ่าตัด พบทุกรายแล้วแต่จะมากน้อย , การติดเชื้อของแผลผ่าตัด , ภาวะขาดน้ำ และ ที่สำคัญคือ ภาวะภูมิคุ้มกันเปลี่ยนแปลง ในปัจจุบันยังไม่มีรายงานสนับสนุน ดังนั้นไม่ต้องกลัวว่าผ่าตัดต่อมทอนซิลแล้วจะเกิดการอักเสบติดเชื้อง่ายกว่าเดิมเพราะไม่มีตัวจับเชื้อโรค จริงแล้วยังมีต่อมน้ำเหลืองอื่นๆที่เหลือทำหน้าที่ทดแทนได้ดีพอเพียง


การปฏิบัติดูแลหลังการผ่าตัดต่อมทอนซิล


1. ใน 2 – 3 วันแรกหลังการผ่าตัดบุตรหลานของท่าน ควรพักฟื้นอยู่ภายในบ้าน หลีกเลี่ยงการเล่นกระโดดโลดเต้นอย่างน้อยเป็นเวลา 10 วันหลังการผ่าตัด และเด็ก ๆควรจะหยุดไปโรงเรียนอย่างน้อย 1 สัปดาห์

2. เด็กควรได้รับอาหารและน้ำอย่างเพียงพอ แนะนำให้รับประทานอาหารเหลวเป็นเวลานาน 3-4 วัน จำพวกไอศกรีม เยลลี่ นมสด อาหารบดหรือปั่นทั้งหลาย ให้หลีกเลี่ยงอาหารร้อน ๆ รสจัด รสเผ็ด หรือเปรี้ยว หรืออาหารแข็ง หลังจากนั้น ถ้าอาการเจ็บคอดีขึ้น จึงรับประทานอาหารเหลวประเภทข้าวต้ม โจ๊ก และ หลัง 7 วันเมื่อแผลผ่าตัดหายดีจึงเริ่มรับประทานอาหารได้ตามปกติ

3. หลังผ่าตัด เด็กจะมีอาการเจ็บคอ และปวดร้าวไปยังกกหู แนะนำให้กินยาลดไข้แก้ปวดที่แพทย์จัดให้ก่อนกินอาหารประมาณครึ่งชั่วโมง จะช่วยทำให้เด็กกลืนอาหารได้ดีขึ้น หลีกเลี่ยงการใช้ยาแก้ปวดจำพวกแอสไพริน เพราะ จะเป็นสาเหตุของเลือดออกได้

4. เลือดออกหลังผ่าตัดปัญหาที่สำคัญของการผ่าตัดต่อมทอนซิล ซึ่งจะสามารถเกิดขึ้นได้ในช่วง 12 ชั่วโมงแรกหลังการผ่าตัด ทำให้เด็กต้องนอนพักในโรงพยาบาลเป็นเวลา 1 คืน เพื่อสังเกตอาการอันนี้

5. เด็กจะมีไข้ต่ำๆ ประมาณ 37.5 องศาเซลเซียส ได้หลังการผ่าตัดต่อมทอนซิลภายใน 1 -2 วันแรก หลังจากนั้นถ้าเด็กยังมีไข้อยู่แสดงว่าอาจเกิดจากการติดเชื้อ หรือ ขาดน้ำ ควรจะให้เด็กดื่มน้ำให้มากเพียงพอก่อน และถ้าไข้ยังมีอยู่ควรจะมาพบแพทย์

6. ท่านจะเห็นฝ้าขาวบริเวณแผลผ่าตัดของต่อมทอนซิล ซึ่งจะเกิดได้ชั่วคราว และจะหลุดลอกออกไปเองภายใน 1-2 สัปดาห์

3 ความคิดเห็น:

  1. ตอนเราเป็นทอนซิลอักเสบ เราใช้สเปรย์พ่นเอาอ่ะ ของ propoliz spray ก็ใช้ได้ผลดีเหมือนกันนะ

    ตอบลบ
  2. กำลังจะแนะนำโพรพอลิสอยู่พอดีเลย ใช้ดีจริงนะอันนี้ขอยืนยันอีกหนึ่งเสียง

    ตอบลบ
  3. Hotel Harrahs Cherokee Casino and Hotel - Mapyro
    Harrahs Cherokee 세종특별자치 출장마사지 Casino & Hotel - Find your way around the casino, 여주 출장안마 find where everything is 목포 출장안마 located with these helpful 영주 출장샵 reviews and 원주 출장마사지 ratings.

    ตอบลบ